ufabet

การตรวจหัวใจในผู้สูงอายุ ควรตรวจเมื่ออายุมาก

เมื่อคนอายุมากขึ้นโรคที่เกิดจากหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น

โดยสามารถจะแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้

  1. เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งทำให้เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดแดงใหญ่เออออร์ต้าโป่งพอง (Aortic Aneurysm)
  1. โรคความดันโลหิตสูง ในคนที่อายุเกิน 65 ปี อาจพบว่าความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท ถึง 50%
  2. การทำงานของหัวใจล้มเหลว (Congestive heart farilure) ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่าง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย
  1. โรคของลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โดยเฉพาะลิ้นหัวใจเออออร์ต้า เนื่องจากมีการเสื่อมของลิ้นหัวใจและมีแคลเซียมมาจับ
  1. โรคหัวใจเนื่องจากการเต้นที่ผิดจังหวะคนไข้บางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลย เช่น โรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการผิดปกติเป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้ในคนไข้ที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลงไม่มาก อาจไม่มีอาการเหนื่อยง่ายเนื่องจากคนสูงอายุไม่ได้ทำงานหนัก

ufabet

การตรวจเช็คหัวใจจึงมีความจำเป็น และการตรวจพื้นฐานจะประกอบด้วย

  1. การตรวจร่างกายระบบหัวใจ และการวัดความดันโลหิต
  2. ตรวจเลือดดูภาวะไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน
  3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G.) และเอ็กซเรย์ปอดดูขนาดหัวใจ

ufabet

ส่วนในคนที่สงสัยว่าจะมีโรคหัวใจจะสามารถตรวจพิเศษ ดังนี้

  1. การวิ่งทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) เพื่อดูการทำงานของหัวใจ และดูว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่เวลาออกกำลัง
  1. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) จะสามารถดูขนาดของหัวใจ ความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้นว่ามีมีลิ้นตีบหรือรั่วหรือไม่ ดูการบีบตัวของหัวใจ
  1. การบันทึกการเต้นหัวใจ 24 ชั่วโมง (24 hours holter monitoring) ในกรณีที่สงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือสงสัยว่าอาการเป็นลมหมดสติเกิดจากหัวใจเต้นช้ามาก นอกจากนี้ยังสามารถดูการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจระหว่างที่ติดเครื่องไว้

การตรวจโดยวิธีพิเศษนี้ แต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ connect-quebec.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated